จังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดที่มีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยวทางทะเลระดับโลก เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ ในปี 2566 มีจำนวนนักท่องเที่ยวประมาณ 11.3 ล้านคน สูงเป็นอันดับที่ 1 ของภาคใต้ สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวได้มากกว่า 3.9 แสนล้านบาท ซึ่งมีส่วนสำคัญในการสร้างรายได้ให้กับประเทศ มีความสำคัญต่อภาคเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ซึ่งทางจังหวัดได้มีการพัฒนาและเร่งปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เพื่อพัฒนาให้สามารถรองรับนักท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นในอนาคต ปัจจุบันจังหวัดภูเก็ตประสบกับปัญหาการจราจรติดขัดเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะถนนเทพกระษัตรี ซึ่งเป็นเส้นทางหลักเพียงสายเดียวที่ใช้ในการเดินทางเชื่อมโยงระหว่างท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตและพื้นที่ทางด้านเหนือของเกาะภูเก็ตกับตัวเมืองภูเก็ตและแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ เนื่องจากข้อจำกัดด้านความจุและลักษณะของทางหลวงที่ไม่มีการควบคุมการเข้า-ออก ทำให้ไม่สามารถรองรับปริมาณจราจรโดยเฉพาะในช่วงเวลาเร่งด่วนเช้าและเย็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งในการเดินทางเชื่อมโยงระหว่างฝั่งกะทู้และฝั่งป่าตอง จะใช้ถนนพระบารมีเป็นเส้นทางหลักในการเดินทาง ซึ่งปัจจุบันมีปริมาณจราจรติดขัด และเส้นทางเป็นทางลาดชัน มีความคดเคี้ยว จึงทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง หากไม่รีบดำเนินการแก้ไขจะส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการเดินทาง ส่งผลกระทบทางลบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนและนักท่องเที่ยว รวมทั้งส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจและสังคมของจังหวัดภูเก็ตและประเทศในระยะยาวได้
การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้ดำเนินโครงการทางพิเศษจังหวัดภูเก็ตเพื่อยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมทางถนน แก้ไขปัญหาการจราจร และอำนวยความสะดวกรวดเร็วในการเดินทางให้กับคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยว ประกอบด้วย โครงการทางพิเศษ 2 ระยะ ได้แก่ โครงการระยะที่ 1 มีระยะทาง 3.98 กิโลเมตร และโครงการระยะที่ 2 มีระยะทาง 30.62 กิโลเมตร รวมระยะทางของโครงการทั้ง 2 ระยะทาง 34.60 กิโลเมตร โครงการระยะที่ 1 ช่วงกะทู้-ป่าตอง ได้ดำเนินการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนโครงการตามขั้นตอนพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 (พ.ร.บ. การร่วมลงทุนฯ ปี 2562) โดยในขั้นตอนที่กำหนดให้เอกชนที่สนใจยื่นข้อเสนอนั้น ปรากฏว่าไม่มีเอกชนรายใดมายื่นข้อเสนอเพื่อเข้าร่วมลงทุนโครงการ สรุปว่าการที่จะเปลี่ยนแปลงเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนจะส่งผลกระทบต่อหลักการของโครงการร่วมลงทุนที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติไว้ กทพ. จึงจะทบทวนและนำเสนอต่อผู้มีอำนาจอีกครั้ง อีกทั้งโครงการระยะที่ 2 ช่วงเมืองใหม่-เกาะแก้ว-กะทู้ ได้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมถึงการสำรวจและออกแบบกรอบรายละเอียด (Definitive Design) แล้วเสร็จ กทพ. จึงได้ศึกษาแนวทางการดำเนินโครงการทางพิเศษในจังหวัดภูเก็ต โดยเสนอให้ กทพ. ดำเนินโครงการโดยลงทุนและก่อสร้างโครงการระยะที่ 1 ช่วงกะทู้-ป่าตอง ไปก่อน ควบคู่กับการศึกษารูปแบบการลงทุน งานโยธาโครงการระยะที่ 2 ช่วงเมืองใหม่-เกาะแก้ว-กะทู้ และการบริหารจัดการและบำรุงรักษา (Operation & Maintenance: O&M) โครงการทั้ง 2 ระยะ ซึ่งได้นำเสนอคณะกรรมการ กทพ. ในการประชุม ครั้งที่ 11/2566 เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2566 และเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 กทพ. ได้เสนอเรื่อง ต่อกระทรวงคมนาคม (คค.) เพื่อขออนุมัติปรับรูปแบบการลงทุนของโครงการทางพิเศษจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงกะทู้-ป่าตอง
สำหรับแนวทางการลงทุนก่อสร้างโครงการระยะที่ 2 ช่วงเมืองใหม่-เกาะแก้ว-กะทู้ และบริหารจัดการ และบำรุงรักษา (O&M) โครงการทั้ง 2 ระยะ จำเป็นต้องมีการศึกษาทบทวนความเหมาะสมของโครงการ ทั้ง 2 ระยะ รวมทั้งการดำเนินโครงการจะต้องใช้วงเงินลงทุนค่อนข้างสูง แนวทางการให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการ จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการดำเนินโครงการ
ดังนั้น กทพ. ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อดำเนินงานศึกษาทบทวนความเหมาะสม และจัดทำรายงานการศึกษา และวิเคราะห์โครงการตาม พ.ร.บ. การร่วมลงทุนฯ ปี 2562 โครงการ
ทางพิเศษจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงกะทู้-ป่าตอง และระยะที่ 2 ช่วงเมืองใหม่-เกาะแก้ว-กะทู้ เพื่อให้โครงการทางพิเศษจังหวัดภูเก็ตเป็นทางเลือกในการเดินทางที่จะช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรบนถนนเทพกระษัตรี (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 402) และถนนพระบารมี (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4029) รวมทั้งเป็นการเพิ่มศักยภาพด้านการคมนาคมและแก้ไขปัญหาการจราจรในจังหวัดภูเก็ตให้เกิดความสะดวกและปลอดภัยต่อผู้เดินทางยิ่งขึ้น
เชื่อมต่อกับถนนผังเมืองสาย ก. เป็น Trumpet Interchange การจราจรสามารถ
วิ่งได้อย่างลื่นไหลทุกทิศทางโดยไม่ติดขัด
เชื่อมต่อกับทางหลวงหมายเลข 4029 ในลักษณะ Directional Ramp ทิศทางเชื่อมตัวเมืองภูเก็ต
ทางแยกต่างระดับเมืองใหม่
เชื่อมต่อทางหลวงหมายเลข 4026 (จุดเริ่มต้นโครงการ) ออกแบบเป็น Trumpet Interchange การจราจรสามารถวิ่งได้อย่างลื่นไหลทุกทิศทางโดยไม่ติดขัด โดยให้ทางหลวงหมายเลข 4026 เป็นทิศทางหลักที่สามารถทำความเร็วได้สูง ทิศทางจากสนามบินเลี้ยวขวาเข้าถนนโครงการออกแบบเป็น Semi-Directional ramp ทิศทางจากถนนโครงการเลี้ยวขวาไปยังสามแยกสนามบินออกแบบเป็น Loop ramp ทิศทางอื่นๆ เป็นทางเลี้ยวเสมอระดับ มีระยะทาง Ramp เข้า-ออก รวมประมาณ 3.4 กม
ทางแยกต่างระดับบ้านดอน
เชื่อมต่อทางหลวงหมายเลข 4030 ออกแบบทางหลักเป็นสะพานข้ามทางหลวงหมายเลข 4030 และทางเลี้ยวขวาจากถนนโครงการไปทางหลวงหมายเลข 402 เป็นสะพานข้ามทางแยกและกลับรถลอดใต้ทางหลักรวมกับทางเลี้ยวซ้ายจากถนนโครงการไปทางหลวงหมายเลข 402 Ramp เข้า-ออก รวมประมาณ 3.0 กม.
ทางแยกต่างระดับม่าหนิก 1
เชื่อมต่อทางหลวงหมายเลข 4025 ออกแบบเป็น Trumpet Interchange ทิศทางจากถนนโครงการที่จะเลี้ยวซ้ายไปหาดสุรินทร์ และเลี้ยวขวาไปป่าคลอก ออกแบบเป็น Semi-Directional Ramp ส่วนทิศทางจากทางหลวงหมายเลข 4025 เข้าสู่ถนนโครงการออกแบบเป็น Loop Ramp ทิศทางจากป่าคลอกเข้าสู่ถนนโครงการ เป็นลักษณะทางเลี้ยวซ้าย
ทางแยกต่างระดับม่าหนิก 2
เชื่อมต่อระหว่างทางหลักและทางร่วมบรรจบเป็น System Interchange ออกแบบเป็น Y-Interchange แต่ทิศทางเลี้ยวขวาจากกะทู้ไปทางเกาะแก้วที่มีปริมาณจราจรน้อยจะออกแบบเป็นทางกลับรถ ทิศทางเลี้ยวซ้ายอื่น ๆ ออกแบบเป็นทางเลี้ยวเสมอระดับ มีระยะทาง Ramp เข้า-ออก รวมประมาณ 3.6 กม.
ทางแยกต่างระดับบางคู
เชื่อมต่อทางหลวงหมายเลข 4024 (จุดสิ้นสุดทางร่วมบรรจบ) มีลักษณะเป็น Y-Interchange ออกแบบทิศทางหลักเชื่อมเข้าทางหลวงหมายเลข 4024 เป็นรูปแบบสะพานยกข้ามทางหลวงหมายเลข 4024 ทิศทางมุ่งไป
3 แยกบางคู ทิศทางเลี้ยวขวาจาก 3 แยกบางคูเข้าสู่ถนนโครงการ สามารถเลี้ยวขวาลอดทางหลวงหมายเลข 4024 เข้าเชื่อมกับถนนโครงการ ทิศทางอื่น ๆ เป็น
ทางเลี้ยวเสมอระดับ มีระยะทาง Ramp เข้า-ออก
รวมประมาณ 4.9 กิโลเมตร
ทางขึ้น-ลง วิชิตสงคราม
เชื่อมต่อกับถนนวิชิตสงครามในลักษณะ 3 แยก ก่อนจะยกระดับเข้าเชื่อมกับทางหลักของโครงการ มีระยะทาง Ramp เข้า-ออก รวมประมาณ 1.2 กม.
รูปแบบทางยกระดับช่วงกะทู้-ป่าตอง
รูปแบบอุโมงค์ช่วงกะทู้-ป่าตอง
รูปแบบทางระดับพื้นช่วงเมืองใหม่-เกาะแก้ว
รูปแบบทางยกระดับช่วงพื้นที่เมืองกะทู้
รูปแบบอุโมงค์ช่วงเมืองใหม่-กะทู้
ช่วงเมืองใหม่-เกาะแก้ว-กะทู้
รูปแบบโครงการช่วงเมืองใหม่-เกาะแก้ว ออกแบบเป็นทางพิเศษขนาด
4 ช่องจราจร ช่องละ 3.50 เมตร เกาะกลาง 16.20 เมตร รองรับการขยายช่องจราจรในอนาคต ไหล่ทาง ด้านใน 1.50 เมตร ไหล่ทางด้านนอก 2.50 เมตร สำหรับการออกแบบสะพานและทางยกระดับของโครงการจะพิจารณาให้มีความสูงช่องลอดหรือระยะทางผิวถนนเดิมถึงท้องโครงสร้างสะพาน
แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ 3.50 เมตร สำหรับรถยนต์ทั่วไปและ 5.50 เมตร สำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่
ในส่วนของรูปแบบโครงสร้างสะพานโดยทั่วไปจะมีความกว้างผิวจราจรเท่ากับถนนระดับพื้นคือเป็นสะพานแยก 2 ทิศทาง ความกว้างรวมแต่ละทิศทาง 12.00 เมตร เว้นพื้นที่เกาะกลาง 16.20 เมตร สำหรับการขยายทาง
ในอนาคต และเนื่องจากรูปแบบโครงการเป็นทางพิเศษที่มีการควบคุมการเข้า-ออก จึงจำเป็นต้องมีการออกแบบทางบริการฝั่งละ 2 ช่องจราจร แบบวิ่งสวนทิศทางจราจรเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่สามารถสัญจรได้ตามเดิม โดยไม่ถูกทางพิเศษปิดกั้น
ช่วงแนวทางใหม่ในการเชื่อมต่อทางพิเศษสายกะทู้-ป่าตอง เนื่องจากแนวเส้นทางผ่านพื้นที่เขากมลาเป็นพื้นที่ภูเขาสูงชัน การออกแบบเป็นทางระดับพื้นจะส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากงานตัดลึก-ถมสูงของคันทางมาก
จึงพิจารณาเป็นรูปแบบอุโมงค์คู่ โดยอุโมงค์ละ 2 ช่องจราจร ช่องจราจรละ 3.50 เมตร ไหล่ทางด้านใน 0.50 เมตร ไหล่ทางด้านนอก 1.50 เมตร ระยะห่างระหว่างอุโมงค์ 14.2 เมตร ส่วนช่วงทางยกระดับในพื้นที่เมืองกะทู้ จะออกแบบเป็นทางพิเศษขนาด 4 ช่องจราจร เพื่อลดพื้นที่ก่อสร้างจึงจะลดความกว้างสะพานรวม 2 ทิศทางเป็นความกว้าง 21.60 เมตร และมีบางส่วนยกระดับบนถนนเดิม